เวลา
การเล่นจะแบ่งเป็น 4 ควอเตอร์ (quarter) แต่ละควอเตอร์มี 10
นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ)
ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านฝั่งกันเมื่อเริ่มครึ่งหลัง
เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น
เมื่อเกิดการฟาวล์ หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่ามาก
แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน
มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด
ผู้เล่นและบุคลากร
ผู้เล่นตัวจริงในสนามจะมีฝ่ายละห้าคน และมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน
สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด มีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น
รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์
เครื่องแบบนักกีฬา
เครื่องแบบนักกีฬา กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนทั้งด้านหน้าและหลัง
รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้
กรรมการ
กรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนามทำหน้าที่ควบคุมเกม
และ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม
ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก
อุปกรณ์การเล่น
อุปกรณ์ที่จำเป็นจริง
ๆ ในกีฬาบาสเกตบอลมีเพียงลูกบอลและสนามที่มีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน ในระดับแข่งขันต้องใช้อุปกรณ์อื่น
เช่น นาฬิกา กระดาษบันทึกคะแนน สกอร์บอร์ด ระบบหยุดนาฬิกาด้วยนกหวีด เป็นต้น
ลูกบาสเกตบอลชายมีเส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร)
และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 5 ออนส์ (600
กรัม) ลูกบาสเกตบอลหญิงมีเส้นรอบวงประมาณ 29 นิ้ว
(73 ซม.) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 3
ออนส์ (540 กรัม)
สนามบาสเกตบอลมาตรฐานในเกมสากลมีขนาด 28 คูณ 15 เมตร (ประมาณ 92 คูณ 49 ฟุต)
ส่วนในเอ็นบีเอมีขนาด 94 คูณ 50 ฟุต (29
คูณ 15 เมตร) พื้นสนามส่วนใหญ่ทำด้วยไม้
ภาพลูกบาสเกตบอล |
ห่วงทำจากเหล็กหล่อ พร้อมทั้งเน็ต และแป้น ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของสนาม
ในการแข่งขันเกือบทุกระดับ ขอบห่วงด้านบนอยู่สูงจากพื้น 10 ฟุต (3.05 เมตร)
พอดีและถัดเข้ามาจากเส้นหลัง 4 ฟุต (1.2 เมตร) ถึงแม้ว่าขนาดของสนามและแป้นอาจแตกต่างกันออกไป
แต่ความสูงของห่วงถือว่าสำคัญมาก
ถึงตำแหน่งจะคลาดเคลื่อนไปไม่เพียงกี่นิ้วก็มีผลต่อการชู้ตอย่างมาก
ภาพห่วงบาสเกตบอล |
ข้อบังคับ
ลูกสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเข้าหาห่วงโดยการชู้ต
การส่งระหว่างผู้เล่น การขว้าง การเคาะลูก การกลิ้งลูก หรือ การเลี้ยงลูก
(โดยการให้ลูกกระเด้งกับพื้นขณะวิ่ง เรียก
dribbling)
ลูกจะต้องอยู่ในสนาม ทีมสุดท้ายที่สัมผัสลูกก่อนที่ลูกจะออกนอกสนาม
จะสูญเสียการครองบอล ผู้เล่นห้ามขยับขาทั้งสองพร้อมกันในขณะเลี้ยงลูก (เรียกว่า travelling) เลี้ยงลูกพร้อมกันทั้งสองมือ
หรือเลี้ยงลูกแล้วจับลูกแล้วเลี้ยงลูกต่อ (เรียกว่า
double-dribbling) เวลาเลี้ยงมือของผู้เล่นต้องอยู่ด้านบนของลูก
มิฉะนั้นจะนับว่า ถือลูก ถ้าทีมพาลูกไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามของสนาม แล้ว
ห้ามนำลูกกลับเข้าแดนตนเอง อีก ห้ามเตะหรือชกลูก ถ้าทำผิดกฎข้อห้ามเหล่านี้จะเสียการครองบอล
อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายได้ลูกไปเล่น
แต่ถ้าฝ่ายรับทำผิดกฎฝ่ายที่ครองบอลจะได้เริ่มช็อตคล็อกใหม่
ผู้เล่นจะต้องนำลูกจากแดนตัวเองข้ามเข้าแดนตรงข้ามภายในเวลาที่กำหนด
(8 วินาทีทั้งในกติกาสากลและเอ็นบีเอ)
ต้องชู้ตภายในเวลา 24 วินาที ถือลูกขณะที่ถูกยืนคุมโดยฝ่ายตรงข้ามไม่เกิน
5 วินาที อยู่ในบริเวณใต้แป้นไม่เกิน 3 วินาที กฎเหล่านี้มีไว้เป็นรางวัลแก่การตั้งรับที่ดี
ห้ามผู้เล่นรบกวนห่วง หรือ ลูกขณะเคลื่อนที่คล้อยลงมายังห่วง
หรือ ขณะอยู่บนห่วง (ในเอ็นบีเอ ยังรวมกรณีลูกอยู่เหนือห่วงพอดี) การฝ่าฝืนข้อห้ามนี้เรียก goaltending ถ้าฝ่ายรับทำผิด
จะถือว่าการชู้ตสำเร็จและอีกฝ่ายได้คะแนน แต่ถ้าฝ่ายรุกทำผิด
จะไม่คิดคะแนนการชู้ตนี้ และเสียการครองบอล
การฟาวล์
กรรมการแสดงสัญญาณฟาวล์โดยการเป่านกหวีดแล้วชูกำปั้นข้างซ้ายขึ้น
การเล่นที่กระทบกระทั่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้อีกฝ่ายเสียเปรียบ
ถือเป็นข้อห้ามที่ถ้าฝ่าฝืนจะนับเป็น ฟาวล์ ผู้เล่นตั้งรับมักจะเป็นคนทำฟาวล์แต่ผู้เล่นฝ่ายรุกก็สามารถทำฟาวล์ได้เช่นเดียวกัน
คนที่ถูกฟาวล์จะได้ส่งลูกจากข้างสนาม เพื่อเล่นต่อ
หรือได้ชู้ตลูกโทษ หรือ free throw ถ้าการฟาวล์เกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูก
การชู้ตลูกโทษลงห่วงครั้งหนึ่งจะได้หนึ่งคะแนน
ผู้เล่นจะได้ชู้ตลูกโทษหนึ่งกี่ครั้งขึ้นกับว่าลูกที่ผู้เล่นชู้ตตอนถูกฟาวล์นั้นได้แต้มหรือไม่
เวลาชู้ตลูกโทษผู้เล่นต้องยืนหลังเส้นลูกโทษซึ่งห่างจากห่วง 4.5 เมตร (15 ฟุต)
การที่จะมีการฟาวล์หรือไม่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของกรรมการผู้ตัดสิน
ว่าผู้เล่นเกิดการได้เปรียบในการเล่นอย่างขาวสะอาดหรือไม่
ทำให้บางครั้งมีความเห็นขัดแย้งกับการเรียกฟาวล์ของกรรมการ
การกระทบกระทั่งในกีฬาบาสเกตบอลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเรียกฟาวล์อาจแตกต่างกันในแต่ละเกม
หรือแม้กระทั่งกรรมการตัดสินแต่ละคน
ผู้เล่นหรือโค้ชซึ่งแสดงน้ำใจนักกีฬาที่แย่ เช่น
เถียงกับกรรมการ หรือ ชกกับผู้เล่นอื่น อาจโดน technical
foul ซึ่งถูกลงโทษโดยให้อีกทีมได้ชู้ตลูกโทษ
(รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าเกิดเหตุการณ์ซ้ำก็อาจถูกไล่ออกจากสนามได้
ฟาวล์ที่เกิดจากการเล่นที่รุนแรงเกินไป จะเรียกว่า ฟาวล์รุนแรง (unsportsmanlike
foul ในสากลหรือ flagrant foul ในเอ็นบีเอ)
ก็จะได้รับโทษที่สูงขึ้นกว่าฟาวล์ธรรมดา บางครั้งอาจถูกให้ออกจากสนามด้วย
ถ้าทีมทำฟาวล์เกินกว่าที่กำหนด (ในหนึ่งควอเตอร์) ซึ่งก็คือ
สี่ครั้งสำหรับกติกาสากลและเอ็นบีเอ
ทีมตรงข้ามสามารถชู้ตลูกโทษสำหรับการฟาวล์ที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อๆ ไป
จากนั้นจนกว่าจะจบช่วง ไม่ว่าการฟาวล์จะเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูกหรือไม่
(รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าผู้เล่นฟาวล์รวมห้าครั้งนับเทคนิคัลฟาวล์ด้วย
(บางลีก รวมถือเอ็นบีเอ ยอมให้ฟาวล์ได้หกครั้ง)
ผู้เล่นนั้นไม่สามารถเล่นในเกมได้อีก เรียกว่าfoul
out
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น