ค้นหาบทความที่น่าสนใจ

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วิธีคิดราคาขายขวด

สวัสดีครับ หลายคนอาจมีคำถามว่าเราจะต้องเก็บขวดน้ำกี่ขวด จึงจะได้ปริมาณเงินจำนวนหนึ่งที่เราต้องการ หรือที่บ้านมีเครื่องชั่งขนาดเล็กๆ ที่ไม่สามารถชั่งของในปริมาณเยอะๆได้ ครั้งนี้ผมจะมาสอนวิธีคิดหาจำนวนปริมาณขวดน้ำที่จะต้องเก็บเพื่อให้ได้เงินตามต้องการกันครับ               

               จากครั้งที่แล้ว ผมเขียนถึงเรื่อง "วิธีคิดราคาขยะ" ไปแล้วนะครับ ครั้งนี้จะมาต่อจากครั้งก่อนนะครับ  โดยจะกล่าวถึงวิธีคิดราคาขยะเหมือนกันแต่จะเป็นการเพิ่มเติมจากเดิมไปอีกครับ เป็นการคิดคำนวณปริมาณของของที่จะเก็บสะสมเพื่อนำไปขาย ซึ่งต่างจากครั้งที่แล้วที่คิดน้ำหนักรวมออกมา แล้วคำนวณเป็นปริมาณเงินที่จะได้ แต่ครั้งนี้จะคิดโดยตั้งราคาเงินที่จะได้ แล้วคิดออกมาเป็นจำนวนของของที่จะเก็บแทนครับ เช่นเก็บขวดน้ำ จากครั้งก่อนช่วงท้ายๆ ผมแสดงการคำนวณเปลี่ยนปริมาณเงินที่เราต้องการเป็นน้ำหนักขวดที่เราจะต้องเก็บในหน่วยกิโลกรัม แต่ครั้งนี้จะคิดออกมาแล้วได้จำนวนขวดออกมาแทนครับ

ขวดเกษตร

               "หลักการจะใช้การเทียบบัญญัติไตรยางค์เหมือนเดิม โดยใช้สิ่งที่เรารู้ก็คือ ราคาของขยะต่อหน่วย เช่น ขวดน้ำดื่ม 1 กิโลกรัม จะขายได้ 8 บาท เป็นต้น แต่ครั้งนี้เราจะเปลี่ยนจากการเทียบจาก 1 กิโลกรัมเป็น จำนวนขวดใน 1 กิโลกรัมแทนครับ แล้วนำไปเทียบบัญญัติไตรยางค์เพื่อหาจำนวนของขวดที่จะเก็บในปริมาณเงินที่เราต้องการครับ"  โดยราคาต่อหน่วยของขยะ ดูได้ที่: http://www.wongpanit.com/

               โดยการเปลี่ยนจากน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เป็น จำนวนขวดใน 1 กิโลกรัม จะคิดดังนี้ นำ 1000 กรัม หารด้วยน้ำหนักของขวด 1 ขวดที่เราจะคิดหาจำนวนขวด   ( *** 1 กิโลกรัม = 1000 กรัม ***)

ตัวอย่างเช่น จากรูปด้านล่าง ขวดในรูปมีน้ำหนัก 31.10 กรัม

ขวดขนาด 1.5 ลิตร

วิธีคิด  เรานำ 1000 กรัมหารด้วยน้ำหนัก 31.1 กรัม (เป็นการเทียบบัญญัติไตรยางค์ครับ)
                     31.1 กรัม = 1 ขวด
            แล้ว 1000 กรัม = ? ขวด           ( *** 1 กิโลกรัม = 1000 กรัม ***)
           ก็จะเป็น  1000 หารด้วย 31.1  = 32.15 ขวด ปัดเป็น 33 ขวด

*** ทำไมถึงปัดค่าที่คิดได้ขึ้นเพราะในความเป็นจริงแล้วเราขายขวด เราก็ขายขวดเป็นจำนวนเต็ม คงไม่มีใครตัดขวดเป็นส่วนๆ แล้วเอาเศษนิดๆ ไปชั่งน้ำหนักขายหรอกครับ 5555 ***
         

              หลังจากนั้นเราก็จะนำค่าจำนวนขวดใน 1 กิโลกรัม เป็นฐานเพื่อนำไปเทียบหาจำนวนขวดที่จะเก็บในราคาที่ต้องการครับ เพื่อความสะดวก จะใช้สมการรูปแบบเดิมนะครับ แต่ตัวแปรจะเปลี่ยนไป

สมการ:  Xyi/xi =Y
โดย X= ราคาที่ต้องการ (บาท)
        Yi= ปริมาณของของที่เก็บต่อกิโลกรัม เช่นขวดน้ำ 33 ขวด  หนัก 1 กิโลกรัม จากตัวอย่างด้านบน Yi = 33 ขวด นั้นเองครับ
        Xi = ราคาขายต่อ 1 กิโลกรัม (บาท) เช่น ขวดน้ำ 1กิโลกรัม ราคา 8 บาท  ซึ่ง Xi ก็คือ 8 บาทนั้นเองครับ
        Y = ปริมาณที่จะต้องเก็บ (ที่เราจะหากันในครั้งนี้)

ตัวอย่างประกอบความเข้าใจ 


ขวดน้ำชา

ผมต้องการเงินจากการขายขวด 20 บาท สมมติราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 8 บาท น้ำหนักขวดที่ผมเก็บขาย = 24.79 กรัม ผมจะต้องเก็บขวดกี่ขวดจึงจะขายได้ราคา 20 บาท
วิธีคิด จากสูตร Xyi/xi =Y
              X = 20 บาท  
              Yi = (1000/24.79) ขวด = 41 ขวด 
**** มาจากการเทียบบัญญัติไตรยางค์ หาว่า 1 กิโลกรัม มีกี่ขวด จากตัวอย่างด้านบน ****
             Xi = 8 บาท
       แทนค่า ลงสูตรจะได้ว่า Y = (20×41)/8 
                                                 = 103 ขวด 

              นอกจากตัวอย่างข้างบนที่เป็นการคิดขวดน้ำ เราสามารถทำการคิดราคาของวัสดุอื่นๆได้ครับโดยใช้วิธีเดียวกัน เช่น กระป๋อง แก้ว สังกะสี  เป็นต้น

ตัวอย่างประกอบความเข้าใจ
ผมต้องการเงินจากการขายกระป๋อง 20 บาท สมมติราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท น้ำหนักกระป๋องที่ผมเก็บขาย = 13.07 กรัม ผมจะต้องเก็บกระป๋องกี่ขวดจึงจะขายได้ราคา 20 บาท

กระป๋องน้ำอัดลม

ธีคิด จากสูตร Xyi/xi =Y
              X = 20 บาท  
              Yi = (1000/13.07) กระป๋อง =  77 กระป๋อง 
**** มาจากการเทียบบัญญัติไตรยางค์ หาว่า 1 กิโลกรัม มีกี่ขวด จากตัวอย่างด้านบน ****
             Xi = 25 บาท
       แทนค่า ลงสูตรจะได้ว่า Y = (20×77)/25 
                                                 = 62 กระป๋อง 

              ซึ่งวิธีการคิดแบบนี้ จะเป็นการง่ายต่อการประมาณจำนวนของของที่จะต้องเก็บและประมาณเงินที่จะได้โดยไม่ต้องมาทำการชั่งน้ำหนักรวมเพื่อคิดราคาครับ เป็นการประมาณราคาคร่าวๆ แต่สิ่งที่จะต้องรู้คือ น้ำหนักของสิ่งของที่เราจะนำคิด 1 อัน เช่น น้ำหนักของขวดน้ำ 1 ขวด หรือน้ำหนักของกระป๋อง 1 กระป๋อง เป็นต้น และต้องรู้ราคาต่อหน่อยของของที่จะขายครับ

              ดูจำนวนของของที่จะต้องเก็บแล้ว น่าตกใจเหมือนกันนะเนี้ย 5555 ครั้งนี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ก็แล้วกันครับ ครั้งหน้าผมจะมาพูดถึงเรื่องอะไรนั้น ติดตามกันด้วยนะครับ สวัสดีครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

เคล็ดลับ การอ่านหนังสือ 2

สวัสดีครับ จากครั้งที่แล้วผมได้นำเคล็ดลับที่ได้จากการอ่านหนังสือที่มีชื่อว่า "เคล็ดลับ เลิกทรมานกับการอ่านหนังสือ" นำมาสรุ...