ค้นหาบทความที่น่าสนใจ

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

ว่ายท่ากบอย่างไรให้เร็ว

      สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วผมได้กล่าวถึงเชื้อโรคในน้ำไปนะครับ สำหรับครั้งนี้นะครับ ผมจะกล่าวถึงการว่ายท่ากบครับ ทำไมคนอื่นว่ายท่านี้เร็วกว่าเรา ขณะที่เราว่ายช้าจังเลย ทำอย่างไรละ ผมคิดว่าส่วนหนึ่งนั้นมาจากการว่ายท่าที่ไม่ถูกต้อง ตอนที่ผมว่ายท่ากบแรกๆนั้น ผมถีบผิดๆถูก ผมหัดถีบกับขอบสระและโฟมก่อนครับ ตอนฝึกถีบกับสระก็คิดว่าถีบแรงน่าจะไปได้ไกล แต่พอมาถีบกับโฟมแล้วกลับพบว่าไม่ค่อยจะไปเลย และเหนื่อยด้วย (ถีบเหนื่อยแต่ไม่ค่อยจะไปเลย เรียกว่าอยู่กับที่จะดีกว่ามั้ง!!)

การถีบขาในท่ากบที่ถูกต้องนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอน
      “งอ  แบะ ถีบ รวบ ” งอขา แบะขา ปลายเท้าออกข้างลำตัว ถีบเท้า รวบขาเข้าหาลำตัว ฝึกให้ร่างกายเคยชินกับมัน ส่วนช่วงด้านบนนั้นเน้นขาดึงแขนแบบยกตัวและหัวไหล่ข้นเหนือ 
ก็คือเมื่องอขาให้แบะขาออกไปด้านข้างทั้ง2ข้าง แล้วถีบไป(แรงเเละเร็วฟองอากาศบริเวณเท้าจะเยอะดี!!ไม่ใช่แระ!! 555) แล้วรวบขาเข้าหาลำตัว ปล่อยตัวให้เคลื่อนไปด้านหน้าจนเกือบจะหยุดเคลื่อนที่แล้วกวักมือทั้ง2 เพื่อให้หัวขึ้น เมื่อหัวลงน้ำก็ให้เริ่มงอขาอีกทำซ้ำไปเรื่อยๆ 

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

เชื้อโรคจากสระว่ายน้ำ

   สวัสดีครับวันนี้ก็เป็นวันที่อากาศเลวร้ายครับ เป็นวันในฤดูร้อนอันร้อนระอุ ผมนี่ออกไปไหนเจอแดดอันรุนแรงเผาเลยที่เดียว แต่ก่อนหน้านี้ฝนตกโลกเรานี่เป็นอะไรไปละเนี้ย แต่ช่างเถอะๆมาเข้าเรื่องดีกว่าผมไปเจอบทความที่น่าสนใจ เกี่ยวกับน้ำในสระครับก็เลยอยากจะส่งต่อเพื่อเป็นความรู้สำหรับเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำครับ 

       สระว่ายน้ำมาตรฐานมันจะมีระบบกรองน้ำ มีการไหลเวียนถ่ายเทน้ำ มียาฆ่าเชื้อโรคใส่ไว้ในปริมาณที่เหมาะสม ร่วมกับ รังสีและความร้อนจากแสงแดดทำให้น้ำในสระสะอาดและปลอดภัย เพราะฉะนั้น การเล่นน้ำในสระว่ายน้ำเหล่านี้จะปลอดภัย ส่วนใหญ่ผู้เล่นน้ำมักจะติดเชื้อ โดยทางอ้อมมากกว่า ซึ่งจะเรียนให้ทราบต่อไป


วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

ระเบียบข้อบังคับในการใช้สระว่ายน้ำ

      สำหรับครั้งที่แล้วผมได้กล่าวถึงวิธีแก้สำหรับปัญหาน้ำเข้าหูครับ มาครั้งนี้ ผมจะกล่าวถึงเรื่องระเบียบ ข้อห้ามและข้อบังคับที่เป็นควรงปฏิบัติเวลาอยู่ในสระว่ายน้ำครับ ที่มากล่าวในครั้งนี้ก็เพราะเมื่อวันก่อนหน้านี้ที่ผมไปว่ายน้ำ แล้วไปเจอป้ายข้อปฏิบัติของสระนั้นก็เลยนำข้อปฏิบัติสำหรับสระว่ายน้ำมาให้อ่านกันครับ เผื่อบางคนที่ไปว่ายน้ำแล้วไม่รู้ข้อควรปฏิบัติ และเพราะบางที่นั้นจะไม่มีข้อบังคับติดไว้ครับ
ก็มาลองดูกันว่ามีอะไรกันบ้างครับ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

วิธีแก้น้ำเข้าหู

       หลายคนคงจะมีปัญหาขณะว่ายน้ำ หรือทำกิจกรรมเกี่ยวกับน้ำ เช่นอาบน้ำ เป็นต้น คือเมื่อทำกิจกรรมเหล่านั้น เกิดอาการน้ำเข้าหู สำหรับผมนั้น น้ำเข้าหูถือเป็นเรื่องปกติไปแล้วครับขณะที่ผมว่ายน้ำ


        ซึ่งการที่น้ำเข้าหูนั้นจะทำให้มีอาการหูอื้อ, รู้สึกว่ามีอะไรในหู หรือมีเสียงในหู, รู้สึกหูแฉะๆซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีแก้ปัญหาแตกต่างกันไป   บางคนสามารถเอาน้ำออกจากหูได้โดยปลอดภัย    บางคนก็พยายามเอาน้ำออกจากหู จนเกิดปัญหาใหม่ของหูขึ้น เช่น พยายามเอาไม้พันสำลีปั่น  หรือแคะ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น

  1. เกิดขี้หูอุดตันมากขึ้น 
  2. เพราะเมื่อน้ำเข้าหู อาจทำให้ขี้หูอุ้มน้ำ และบวมมากขึ้น จนอุดตันช่องหูชั้นนอก ทำให้เกิดอาการหูอื้อ จึงพยายามแคะให้หูหายอื้อ ผลที่สุดกลับยิ่งดันขี้หูให้เข้าไปอัดแน่นยิ่งขึ้น หูอื้อมากขึ้น บางคนอาจมีอาการปวด หรือรู้สึกแน่นในหูได้

  3. เกิดหูชั้นนอกอักเสบ

    การที่น้ำเข้าหู จะทำให้ผนังของช่องหูชั้นนอกเปียก แฉะ และทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่าย การพยายามแคะหู อาจทำให้หูชั้นนอกถลอก  เกิดแผล ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องหูชั้นนอกตามมาได้ ทำให้มีอาการปวดหู, มีหนองไหลจากหู, คันระคายเคือง, ช่องหูบวม เกิดอาการหูอื้อไม่หาย

  วิธีแก้น้ำเข้าหูที่ถูกต้อง

      เมื่อรู้สึกว่าน้ำเข้าหู  ควรเอียงศีรษะเอาหูข้างนั้นลงต่ำ ดึงใบหูให้กางออก และเฉียงไปทางด้านหลัง (ปกติช่องหูจะโค้งเป็นรูปตัว “S”) ซึ่งจะทำให้ช่องหูอยู่ในแนวตรง ที่น้ำจะไหลออกมาได้ง่าย  ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาน้ำเข้าหู จะหายไปทันที ไม่ควรปั่น  หรือแคะหู ถ้าทำดังกล่าวแล้ว แต่ถ้ายังไม่รู้สึกดีขึ้นหรือยังมีอาการหูอื้ออีกด้วย อาจจะใช้ยาละลายขี้หูในการรักษาก็ได้ แต่ถ้ายังไม่รู้สึกดีขึ้นหรือยังมีอาการหูอื้ออยู่  ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก นะครับ
      นอกจากนี้เรายังสามารถป้องกันน้ำเข้าหูได้ง่ายๆอีกด้วย โดยการใช้วัสดุอุดรูหูเพื่อป้องกันน้ำเข้า หรืออาจจะใช้หมวกอาบน้ำคลุมหัวลงมาถึงหู เพื่อป้องกันน้ำเข้าหู เวลาที่ต้องเผชิญกับกิจกรรมทางน้ำต่างๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถรักษาอาการนำเข้าหูได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว…



ที่มา:http://www.rcot.org/data_detail.php?op=knowledge&id=144
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B9/

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

การดำน้ำในสระ

ดำน้ำเล่นในสระ

         ในหน้าร้อนแบบนี้ การว่ายน้ำสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดที่มีในร่างกายจากการทำงานในแต่ละวันได้ครับ เพียงแค่มีชุด แว่นตา หมวก ผ้าเช็คตัว และหาสระว่ายน้ำที่อยู่ใกล้แล้วไปลุยกันเลย เท่านี้ก็ได้ออกกำลังและพักผ่อนในยามฤดูกาลอันร้อนระอุได้แล้วครับ
เคยมั้ยครับ ที่เล่นดำน้ำเก็บของต่างๆไม่ว่าจะเป็น เหรียญ หรือของเล่นเด็ก หรือสิ่งต่างๆที่อยู่ใต้น้ำกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆตอนว่ายน้ำเล่นในสระว่ายน้ำ แต่ดำยังไงๆก็ไม่จม ทำไมเขาถึงดำได้ ทำไมเราทำไม่ได้ why why คำถามนี้มันผุดมาๆ เรื่อยๆ

ไปกันเลย!!

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

การอบอุ่นร่างกายก่อนลงสระ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการว่ายน้ำ

การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) 

             การอบอุ่นร่างกายมีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นการทำให้อุณหภูมิของกล้ามเนื้อเนื้อส่วนที่อยู่ลึกลงไปให้สูงขึ้น ทั้งยังจะเป็นการช่วยยืดเส้นเอ็น (Ligament) และเนื้อเยื้อต่างๆ ทำให้ร่างกายมีความอ่อนตัว (Flexibility) สามารถออกกำลังกายได้ดีขึ้น และอัตราทางปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น รวมทั้งอัตราการไหลเวียนเลือดมีมากหรือการทำให้น้ำมันหล่อลื่นของข้อต่อ (Synovial Fluid) ถูกผลิตออกมามากขึ้นอย่างพอเหมาะ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวซึ่งจะเป็นหนทางป้องกันบาดเจ็บอันอาจเกิดขึ้นกับข้อต่อ ตลอดจนยังเป็นการป้องกันการตึงเครียดและการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าออกกำลังอย่างแรงเต็มที่ โดยไม่ได้ตระเตรียมร่างกายให้พร้อมเสียก่อน

ประโยชน์ของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

  1. ลดความตึงของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย
  2. ช่วยสร้างการประสานงานของร่างกาย ทำให้การเคลื่อนไหวมีอิสระ สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
  3. เพิ่มช่วงของการเคลื่อนไหว
  4. ป้องกันการบาดเจ็บ เช่น กล้ามเนื้อเคล็ด
  5. ช่วยในการทำกิจกรรมหนักๆ ให้ดียิ่งขึ้น เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ เป็นต้น เพราะเป็นการเตรียมกล้ามเนื้อก่อนการทำงาน
  6. พัฒนาการรับรู้ของร่างกาย กล่าวคือ เมื่อปฏิบัติการยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผู้ปฏิบัติจะมุ่งเน้นและได้สัมผัสส่วนนั้นๆ ทำให้ผู้ปฏิบัติได้รู้จักตัวเอง
  7. ช่วยผ่อนคลายด้านจิตใจ
  8. ส่งเสริมระบบไหลเวียนเลือด
  9. ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของการว่ายน้ำ

         การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพสูง กล่าวคือ สามารถออกกำลังกายได้พร้อมๆกันๆได้หลายๆส่วนของร่างกาย ในเวลาเดียวกัน และการเคลื่อนที่ในน้ำนั้นจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น เนื่องจากน้ำนั้นมีแรงต้านมากกว่าอากาศ หากกลัวข้อต่อบาดเจ็บขณะวิ่ง หรือไม่ชอบการออกกำลังกายที่ทำให้ออกเหงื่อมากๆ ทำให้เหนียวตัว ถ้าเช่นนั้นการว่ายน้ำก็คือคำตอบของคุณครับ ว่ายน้ำไม่เพียงช่วยให้ร่างกายฟิตแข็งแรงเท่านั้น ยังช่วยให้คุณผ่อนคลาย ความเครียดที่สะสมมาตลอดวันถูกชะล้างให้หายไปได้กับสายน้ำ และยังสามารถเปลี่ยนความคิดแง่ลบให้กลายเป็นการคิดบวกได้

    วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

    สระว่ายน้ำ

    สระว่ายน้ำ
    สระว่ายน้ำ คือแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการว่ายน้ำหรือกิจกรรมทางน้ำหรือกิจกรรมนันทนาการ สามารถสร้างให้ลึกลงไปในดินหรืออยู่เหนือพื้นดินก็ได้ และสร้างด้วยวัสดุหลายชนิดเช่น คอนกรีต  โลหะ พลาสติก หรือไฟเบอร์กลาสส์ สระว่ายน้ำอาจตกแต่งให้เป็นรูปร่างหรือขนาดตามใจชอบ หรือใช้ขนาดมาตรฐานก็ได้ โดยขนาดใหญ่ที่สุดคือสระว่ายน้ำขนาดที่ใช้ในกีฬาโอลิมปิก
    ชมรมสุขภาพ เช่น  ฟิตเนส และชมรมส่วนตัวจะมีสระว่ายน้ำไว้ออกกำลังกายเป็นส่วนใหญ่ โรงแรมหลายแห่งมีสระว่ายน้ำสำหรับแขก สถานที่เช่น โรงเรียน และมหาวิทยาลัย บางที่ก็มีสระว่ายน้ำสำหรับว่ายน้ำและชั้นเรียนวิชาพลศึกษา หรือสำหรับนักกีฬาแข่งขันอ่างน้ำร้อนและสปามีสระว่ายน้ำที่มีน้่ำร้อนไว้สำหรับการผ่อนคลายและการบำบัดรักษา และทั่วไปตามบ้าน โรงแรม ชมรม และโรงนวด สระว่ายน้ำยังใช้สำหรับดำน้ำ และกีฬาชนิดอื่น ๆ และยังใช้สำหรับนักประดาน้ำ และนักบินอวกาศเอาไว้ฝึกฝนด้วย

        ขนาดสระว่ายน้ำ
           ในสระว่ายน้ำสากลจะมีความกว้าง 25 เมตร ความยาว 50 เมตร และมีลู่สำหรับการว่ายทั้งหมด 8 ลู่หรือ 8 ช่องสำหรับการแข่งขัน แต่ละลู่กว้างประมาณ 7-9 ฟุต โดยปกติในบ้านเราจะมีไม่กี่ที่เท่านั้นที่ได้มาตรฐานสากลของสระว่ายน้ำ
    อ่านว่า Yóu yǒng chí 



    ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3
    http://www.anivisi.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2-%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/

    วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

    การกลับตัว


    สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วผมได้กล่าวถึงท่ากบหงายไป ครั้งนี้จะกล่าวถึงการกลับตัวครับ 
    วันนี้ผมไปเจอบทความเกี่ยวกับการกลับตัวสำหรับการว่ายน้ำครับ ซึ่งก็นำมาฝากกันครับ ช่วงการกลับตัว ช่วงนั้นเราจะถีบตัวกับกำแพงทำให้เป็นแรงส่งทำให้ตัวเราพุ่งไปด้านหน้าทำให้การเคลื่อนของเรานั้นเร็วขึ้นด้วยครับ ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายท่าสำหรับการกลับตัว แต่ครั้งนี้จะกล่าวถึง การกลับตัวแบบTumble Turn ครับ ซึ่งการกลับตัวแบบนี้มีอยู่ด้วยกัน 6 ขั้นตอนครับ  

    การกลับตัวแบบ Tumble Turn 

           สาระสำคัญในการกลับตัวแบบ Tumble turn คือการม้วนตัวไปข้างหน้าบิดเป็นเกลียว   
    ส่วนแรกของการบิดตัวคือตั้งแต่เอวขึ้นมาและอีกส่วนหนึ่งก็คือ  การเริ่มถีบหรือพุ่งออกจากผนัง การที่นักว่ายน้ำกำลังเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเป็นการช่วยในการม้วนตัวหรือกลับตัวนักว่ายน้ำจะก้มหัวลงแล้วจัดร่างกายเตรียมม้วนตัว  การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องโดยตลอดจนถึงการกลับตัวที่ผนังและเร่งความเร็วด้วยการถีบตัวออก ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามอย่างทันที ซึ่งวิธีนี้มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

    1.  การว่ายด้วยท่าฟรีสไตร์คไปข้างหน้าจนใกล้ถึงผนังสระ  มองผ่านลงไปในน้ำสังเกตจุดสิ้นสุดซึ่งจะเห็นสัญลักษณ์รูปตัว " T "
    2.  ครึ่งทางระหว่างตัว T ใต้น้ำและ ตัว T ที่ผนังเมื่อจวงแขนสุดท้ายดึงใต้น้ำ ให้เริ่มกดหัวก้มลง เก็บคางและโค้งตัวตั้งแต่คอจนถึงเอว ไปข้างหน้ามือทั้งสองข้างวางอยู่ใกล้สะโพก
    3. เมื่อตีลังกาได้ครึ่งหนึ่ง ให้แขนของท่านอยู่สูงกว่าหัว จัดการทรงตัว และหมุนแขน  สะโพกต้องอยู่เหนือน้ำ โดยใช้ฝ่ามือและการสะบัดเข้าช่วยในการยกสะโพกให้สูงขึ้น เมื่อก้มตัวจนศรีษะกลับมาอีกทางหนึ่งให้พับเท้าทั้ง 2 โดยการงอเข่า ใช้มือทั้งสองช่วยกดน้ำเพื่อเหวี่ยงสะโพก และเท้าเข้าหาผนังให้เร็ว ขาข้างหนึ่งสูงกว่าขาอีกข้าง
    4. ขณะที่หยุดชั่วขณะในจังหวะที่เท้าสัมผัสผนัง เพื่อการหมุนตัวกลับจุดนี้เป็นเสี้ยวหนึ่งของการกลับตัว เท้าทั้งสองสัมผัสผนังและถีบออกอย่างเต็มพลัง ลำตัวจะเหยียดตรงในลักษณะตะแคง มือทั้งสอง เหยียดตรงแนบหู เวลาที่หยุดชั่วขณะที่ผนังนั้นไม่ควรเกิน 0.7 วินาที
    5. เมื่อหมุนตัวและถีบออกจากผนัง ให้แตะเท้าทั้งสองข้าง ด้วยการStreamlined ซึ่งแขนเหยียดตรง จนรู้สึกได้ว่าหมดแรงส่งตัวจากการถีบผนัง จุดนี้คืออีกเสี้ยวหนึ่งของการกลับตัว
    6.  สโตร์กแรกที่อยู่ใต้น้ำ ให้ดึงมือผ่านน้ำเพื่อยกตัวขึ้น โดยใช้มือและช่วงแขนดึงผ่านน้ำ เป้าหมายคือการดึงน้ำสองสโตร์กก่อนหายใจ

    Swimming Tumble turn tips;
                1. จะกำหนดระยะทางกลับตัวเมื่อไร ซึ่งนับจากผนังสระ
                    ภาคปฏิบัตินี้ ไม่มีความแน่นอนซึ่งมีความผันผวน อันเนื่องมาจากความเร็วของคุณและการที่รีบกลับตัวเมื่อคุณว่ายมา ด้วยความเร็วในการเคลื่อนตัวไปข้างหน้า  ถ้าขาของคุณยาวอาจจะทำให้การกลับตัวช้ากว่าเพื่อนของคุณที่ขาสั้น
                2. ทำอย่างไรในการตีลังกากลับตัว
                เริ่มฝึกฝนการกลับตัวจากผนังสระ ซึ่งน้ำต้องมีความลึกระดับเอว
                    - ถีบตัวใต้น้ำ  พุ่งไปข้างหน้า ก้มตัวตีลังกาและงอเข่า

                    - ตอนหลังจากถีบตัวให้หมุนตัวไปด้านข้างๆหนึ่ง แล้วตัวจะหมุนกลับมาในท่าคว่ำเหมือนเดิม
                    - ยกสะโพกขึ้นให้สูงเท่าระดับน้ำ
                    - ใช้มือของท่านช่วยดันน้ำ เพื่อช่วยในการกลับตัว
                    -  ทำซ้ำจนกว่าท่านจะรู้สึกได้ว่า ท่านสามารถควบคุมร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ และฝึกทำให้เร็วขึ้น
                    เมื่อทำการฝึกใกล้ผนัง
                    - เมื่อท่านรู้สึกว่าเท้าสัมผัสผนัง
                    - ถีบตัวออกและหมุนตัว ยืดลำตัวและยืดแขนและมือ พุ่งผ่านน้ำไปข้างหน้า
                    - จังหวะหยุดคือเมื่อเท้าของท่านสัมผัสผนัง และเมื่อกลับตัว ศีรษะของท่านต้องตรงไปข้างหน้าเสมอ
                3. ทำอย่างไรที่จะไม่ให้น้ำเข้าจมูก
                    - กลั่นหายใจ  เป่าลมออกทางปากและจมูก 

    วิดีโอประกอบความเข้าใจเพื่อให้เห็นภาพ 




    วิดีโอขั้นตอนปฏิบัติจากง่ายไปยากครับ

                                         

    สำหรับท่านที่อยากจะฝึกท่าว่ายน้ำนะครับ สามารถไปดูได้ที่ ท่าว่ายน้ำท่าหลัก และ หัดว่ายน้ำ ครับ  
    หรือถ้าอยากเรียนรู้การกลับตัวและเรียนรู้คำศัพท์ไปด้วย ก็สามารถไปดูที่ เรียนรู้การว่ายน้ำ 3     

    สำหรับครั้งนี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันครับ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ติดตามอ่านกันด้วยนะครับ สวัสดีครับ                               

    ที่มา: http://www.oknation.net/blog/nayroypc/2008/12/11/entry-2

    โพสต์แนะนำ

    เคล็ดลับ การอ่านหนังสือ 2

    สวัสดีครับ จากครั้งที่แล้วผมได้นำเคล็ดลับที่ได้จากการอ่านหนังสือที่มีชื่อว่า "เคล็ดลับ เลิกทรมานกับการอ่านหนังสือ" นำมาสรุ...