ค้นหาบทความที่น่าสนใจ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เคล็ดลับ การอ่านหนังสือ 2

สวัสดีครับ จากครั้งที่แล้วผมได้นำเคล็ดลับที่ได้จากการอ่านหนังสือที่มีชื่อว่า "เคล็ดลับ เลิกทรมานกับการอ่านหนังสือ" นำมาสรุปเป็นข้อๆ ไปแล้วนะครับ   ซึ่งครั้งที่แล้วเป็นเรื่องการทำให้การอ่านหนังสือให้เป็นเรื่องสนุกครับ ครั้งนี้จะมาต่อจากครั้งที่แล้วครับ โดยครั้งนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือครับ ซึ่งผมสรุปไว้ดังต่อไปนี้ครับ

  1. เขียนเป้าหมายที่ตั้งไว้และวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมาย (โดยเขียนตัวใหญ่ๆ แปะไว้ที่บริเวณฝาผนังที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ
  2. คิดบวกในกรณีที่ทำผิดพลาด เช่น อ่านหนังสือได้ไม่เท่ากับเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือทำงานผิดพลาด หรือแม้แต่ทำข้อสอบไม่ได้ เป็นต้น โดยให้ระบายออกมาด้วยการตะโกน(ในกรณีที่สามารถทำได้) ว่า "เหตุผลที่จะไม่ทำพลาดอีก ทำได้แล้ว" อาทิเช่น ทำข้อสอบไม่ได้ให้ตะโกนว่า "ต่อไปนี้รู้แล้วว่าตอบว่าอะไร ทำได้แล้ว" ในกรณีที่ไม่สามารถตะโกนได้อาจจะพูดในใจหรือพูดออกมาเบาๆ เพื่อให้กำลังใจตัวเอง
  3. ใช้เกมการท่องจำทำให้การท่องจำเป็นเรื่องสนุก จะช่วยให้ประสิทธิภาพการจำของเราดีขึ้น เช่น เกมถามตอบที่ไว้เล่นกับเพื่อนๆ โดยกำหนดขอบเขตของเนื้อหาที่อ่านกับเพื่อนๆ แล้วนำมาถามตอบกัน ซึ่งเราอาจกำหนดกติกาเข้าไปเพื่อความสนุกในการเล่นเกม อย่างการถามคำถามให้วนกันถาม โดยให้คนหนึ่งถามแล้วคนอื่นตอบ คนที่ตอบได้จะได้รับคะแนนไป ใครที่ได้คะแนนมากที่สุดหรือคะแนนถึงคะแนนที่ตกลงกันไว้จะเป็นผู้ชนะไป เป็นต้น
  4. ลองเขียนจุดอ่อนของเราและวิธีการแก้ไขจุดอ่อนนั้นวันละ 1 ข้อ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขในวันต่อไป เช่น ถ้าคิดว่าขี้เกียจอ่านหนังสือ ให้ไปนั่งที่โต๊ะอ่านหนังสือทันทีก่อน เป็นต้น
  5. ฝึกออกกำลังกายสมองในตอนเช้าหลังตื่นนอน เพื่อเพิ่มการมีสมาธิให้มากขึ้น เช่น ฝึกคิดเลขในใจ 5 นาที หรือฝึกอ่านเร็ว หรือฝึกพิมพ์เร็ว หลังตื่น เป็นต้น
  6. วางแผนเตรียมไว้สำหรับการพักผ่อน เพื่อให้ผ่อนคลายจากการพักผ่อนได้อย่างเต็มที่และส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการอ่านมากขึ้น เช่น คิดเตรียมการพักผ่อนไว้ก่อนในช่วงพัก ทำให้เราสามารุถเต็มที่กับการพักผ่อน เป็นต้น
  7. ตั้งวันท้าทายการอ่านขึ้น เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการอ่าน เช่น ใน 1 อาทิตย์มี 1 วันท้าทายสำหรับการท่องศัพท์ 100 คำ หรือ อ่านหนังสือจบ 3 เล่ม หรืออ่านหนังสือให้ได้ 12 ชม. เป็นต้น
  8. การชื่นชมสำหรับการอ่านหนังสือหรืออื่นๆ เช่นการสอบ เป็นต้น สำหรับผู้ปกครอง เมื่อเด็กทำได้ เช่นการสอบได้คะแนนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือการอ่านหนังสือตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้น ก็ควรชื่นชม 100 % (ชื่นชมในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น) หากเด็กทำได้ และให้ชม 70 % เมื่อเขาทำไม่ได้ (ชมในเรื่องความพยายามของเขาและสร้างแรงกระตุ้นสำหรับครั้งต่อไป)
  9. เปลี่ยนสถานีที่อ่านหนังสือในสถานที่ต่างๆ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการอ่านหนังสือโดยการสร้างบรรยากาศใหม่ๆ ในการอ่าน เช่น เปลี่ยนสถานที่อ่านหนังสือจากห้องอ่านหนังสือไปเป็นห้องสมุดหรือคาเฟ่ หรือสถานที่ๆมองเห็นธรรมชาติ
  10. สร้างหรือรับความมุ่งมั่นจากสิ่งรอบข้าง เช่น อาจารย์ที่กระตือรือร้น,เพื่อนๆ รอบข้าง,อ่านหนังสือหรือการ์ตูนที่สร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างแรงจูงใจและความมุ่งมั่นให้กับตัวเรา เพื่อที่เราจะนำไปปรับใช้กับตัวเราซึ่งทำให้เราสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเราไปได้ โดยการอ่านหรือดูสิ่งที่เพิ่มความมุ่งมั่น ความกระตือรือร้น จะเป็นการเสริมสร้างความคิดในแง่บวกให้กับเรา


นอกจากนี้ยังมีการทำหนังสือจากเล่มใหญ่ๆ ให้กลายเป็นเล่มเล็กๆ โดยการแยกส่วนของหนังสือเล่มหนา เป็นส่วนๆตามบทในหนังสือออกเป็นส่วนเล็กๆ อาจจะให้พวกร้านถ่ายเอกสารทำการแยกส่วนของหนังสือออกมาเป็นส่วนๆ ออกมาเป็นเล่มเล็กๆ ซึ่งมันทำให้เรามีความคิดที่ว่าหนังสือเล่มเล็กน่าอ่านมากขึ้นกว่าการอ่านหนังสือเล่มหนาๆใหญ่ๆได้ครับ เป็นการช่วยให้เราอ่านหนังสือเล่มใหญ่ได้อย่างมีความสุขครับ ก็เป็นเทคนิคการอ่านเล็กๆน้อยๆที่เอามาฝากกันครับ   สำหรับครั้งนี้ก็พอเท่านี้ก่อนแล้วกันครับ สวัสดีครับ 


ที่มา : อิวะนะมิ คุนิอะคิ. (2562). เคล็ดลับ เลิกทรมานกับการอ่านหนังสือ (พิชชาภา,ผู้แปล). กรุงเทพฯ: พราว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

เคล็ดลับ การอ่านหนังสือ 2

สวัสดีครับ จากครั้งที่แล้วผมได้นำเคล็ดลับที่ได้จากการอ่านหนังสือที่มีชื่อว่า "เคล็ดลับ เลิกทรมานกับการอ่านหนังสือ" นำมาสรุ...