ประวัติกรีฑาในไทย
และต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่มาแข่งขันที่สนามโรงเลี้ยงเด็ก มีการแสดงทางการฝีมือของนักเรียนด้วย หลังจากนั้นได้ย้ายสนามไปแข่งที่โรงเรียนมัธยมราชบูรณะ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) ซึ่งในการแข่งขันได้เพิ่มกิจกรรมอย่างอื่นเข้าไปด้วย เช่น การแสดงกายบริหาร การโหนราว การไต่บันไดโค้ง การชักเย่อ การกระโดดสูง การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งเก็บของ การกระโดดไกล การวิ่งเร็วระยะทาง 2 เส้น การวิ่งรอบกระสอบ การวิ่งทนระยะทาง 10 เส้น เป็นต้น
พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยให้จัดมีการแข่งขันกรีฑาและกีฬาต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี เรียกกันโดยทั่วไปว่า กีฬาแห่งชาติ และให้ถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องจัดให้มีในการแข่งขันทุกครั้ง
![]() |
-ลู่วิ่ง- |
การแข่งขันกรีฑานักเรียนขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง โดยกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) การแข่งขันครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขันและทอดพระเนตรการแข่งขัน ได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทครั้งนั้นด้วย ซึ่งการแข่งขันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เป็นที่สนใจของนักเรียนและประชาชนโดยทั่วไป ต่อมาได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี
และต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่มาแข่งขันที่สนามโรงเลี้ยงเด็ก มีการแสดงทางการฝีมือของนักเรียนด้วย หลังจากนั้นได้ย้ายสนามไปแข่งที่โรงเรียนมัธยมราชบูรณะ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) ซึ่งในการแข่งขันได้เพิ่มกิจกรรมอย่างอื่นเข้าไปด้วย เช่น การแสดงกายบริหาร การโหนราว การไต่บันไดโค้ง การชักเย่อ การกระโดดสูง การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งเก็บของ การกระโดดไกล การวิ่งเร็วระยะทาง 2 เส้น การวิ่งรอบกระสอบ การวิ่งทนระยะทาง 10 เส้น เป็นต้น
พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนสถานที่ไปแข่งขันที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ และมีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพลศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา
พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยให้จัดมีการแข่งขันกรีฑาและกีฬาต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี เรียกกันโดยทั่วไปว่า กีฬาแห่งชาติ และให้ถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องจัดให้มีในการแข่งขันทุกครั้ง
พ.ศ. 2528 เปลี่ยนชื่อองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นการกีฬาแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเอกชนหลายแห่งได้ให้ความสำคัญต่อกรีฑาของประเทศไทย โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑารายการต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ โดยร่วมกับสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่มา:http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3424
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น