ค้นหาบทความที่น่าสนใจ

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ตะบันน้ำ (Hydraulic Ram)

ตะบันน้ำ (Hydraulic Ram) คืออะไร

เป็นเครื่องมือที่สามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำที่อยู่ในพื้นที่ต่ำให้ขึ้นไปยังพื้นที่สูงได้ โดยไม่ต้องใช้พลังงานอย่างไฟฟ้า น้ำมันหรือแรงงานคน เพื่อให้เครื่องมือทำงาน ซึ่งจะใช้หลักการของค้อนน้ำ (Water Hammer)

ค้อนน้ำ (Water Hammer) คืออะไร

ปรากฎการณ์ที่แรงดันน้ำเพิ่มขึ้นในท่อที่ระยะเวลาสั้นๆ เมื่อน้ำเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากพอ และหยุดเคลื่อนที่อย่างกะทันหันเนื่องจากมีการปิดกั้นการไหลในท่ออย่างรวดเร็ว เช่น น้ำไหลอยู่ในท่อ แล้วปิดวาล์วกะทันหัน เป็นต้น น้ำจะเกิดการอัดตัวที่บริเวณที่มีการปิดกั้นการไหล ซึ่งความเร็วน้ำนั้นมีพลังงานจลน์ การปิดกั้นการไหลอย่างทันทีทันใดทำให้พลังงานจลน์เปลี่ยนเป็นความดันขึ้น ซึ่งปรากฎการณ์นี้จะทำให้เกิดเสียงดังคล้ายค้อนตีกระทบกับวัตถุ

โครงสร้างของตะบันน้ำ

ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Hydraulic_Ram.gif#/media/File:Hydraulic_Ram.gif
โครงสร้างของตะบันน้ำประกอบไปด้วย ดังนี้

  1. ท่อรับน้ำจากแหล่งน้ำ 
  2. น้ำทิ้งไหลออกจากตะบันน้ำ 
  3. ท่อส่งน้ำไปยังพื้นที่ด้านบน 
  4. วาล์วน้ำทิ้ง 
  5. วาล์วส่ง 
  6. ถังแรงดัน

หลักการทำงานของตะบันน้ำ


  1. น้ำจากแหล่งน้ำไหลเข้าท่อตะบันน้ำ เข้าสู่บริเวณวาล์วน้ำทิ้งที่เปิดอยู่ การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วของน้ำทำให้น้ำล้นออกและความเร็วที่เพิ่มขึ้นจะดันประตูวาล์วน้ำทิ้งจนปิด
  2. หลังจากวาล์วน้ำทิ้งปิด จะเกิดความดันขึ้นจำนวนมากในท่อ (เกิดค้อนน้ำหรือWater Hammer ขึ้น) น้ำจะดันตัวขึ้นไปยังท่อด้านบนทำให้ตัววาล์วส่งที่ปิดอยู่เปิดออกและน้ำส่วนหนึ่งจะถูกอัดเข้าไปยังถังแรงด้นที่มีอากาศอยู่ 
  3. แรงดันน้ำจะดันตัวไหลไปยังท่อส่งๆน้ำขึ้นไปด้านบน และแรงดันน้ำจากถังแรงดันจะไหลออกไปยังท่อส่งน้ำขึ้นด้านบน
  4. เมื่อแรงดันน้ำที่ต้านแรงดันอากาศในถังแรงดันหายไปแรงดันอากาศจะดันน้ำให้กลับไปยังสภาวะเดิม ทำให้น้ำลงมาดันประตูวาล์วส่งน้ำให้ปิดตัวลง ขณะเดียวกันแรงดันน้ำที่ปิดประตูวาล์วน้ำทิ้งลดลงจนทำให้ประตูวาล์วน้ำทิ้งเปิดออก
  5. ตะบันน้ำจะเริ่มทำงานรอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งก็จะทำซ้ำข้อที่ 1 - 4 ไปเรื่อย ๆ ตลอด

ข้อดี - ข้อเสียของตะบันน้ำ

ข้อดี

  1. ประหยัดต้นทุนด้านพลังงานที่ใช้ในการสูบน้ำ 
  2. สามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำจากพื้นที่ต่ำไปยังบริเวณพื้นที่สูงได้  
  3. สามารถทำงานได้ตลอดเวลา

ข้อเสีย


  1. มีการสูญเสียน้ำที่บริเวณวาล์วน้ำทิ้งจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับน้ำที่สูบขึ้นไปได้ (สัดส่วนประมาณ 80 : 20) และประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น
  2. พื้นที่ที่เหมาะกับตะบันน้ำคือ บริเวณที่มีลำธาร เชิงเขาที่มีน้ำไหล เช่น ฝาย ทำนบ 
  3. แหล่งน้ำเข้าเครื่องตะบันน้ำต้องอยู่สูงกว่าตัวเครื่องตะบันน้ำ ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร 

วิดีโอประกอบการทำความเข้าใจ
วิธีการสร้างตะบันน้ำอย่างง่าย ๆ


วิดีโอแสดงรูปหลักการของการทำงานของระบบ


วิดีโอที่สร้างและนำไปทดลองในพื้นที่จริง



ที่มาของข้อมูล:
https://www.pseau.org/outils/ouvrages/acf_gravity_fed_system_in_rural_areas_6_hydraulic_ram_pump_systems_2009.pdf

https://en.wikipedia.org/wiki/Hydraulic_ram

https://greennews.agency/?p=18176

https://news.thaipbs.or.th/content/275691

https://www.matichon.co.th/sme/news_71046

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

เคล็ดลับ การอ่านหนังสือ 2

สวัสดีครับ จากครั้งที่แล้วผมได้นำเคล็ดลับที่ได้จากการอ่านหนังสือที่มีชื่อว่า "เคล็ดลับ เลิกทรมานกับการอ่านหนังสือ" นำมาสรุ...